พิธีการขาเข้า
-
หน้าหลัก
- พิธีการขาเข้า
พิธีการศุลกากรขาเข้า

เมื่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรได้คัดแยกของที่นําเข้าทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศออกเป็น 3 ประเภทแล้ว จะปฏิบัติกับสิ่งของที่คัดแยกไว้ดังนี้
ประเภทที่ 1 ของยกเว้นอากร บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด จะนําส่งที่บ้านของผู้รับ
ประเภทที่ 2 ของซึ่งมีราคา FOB รวมกันไม่เกิน 40,000 บาท เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะเปิดตรวจและประเมินอากรต่อหน้าพนักงานของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยพนักงานของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด จะจัดทํา และส่งใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศไปให้ผู้รับ โดยหีบห่อที่ถูกเปิดตรวจจะมีเทปกาว พลาสติกปิดรอยเปิดและประทับข้อความไว้ว่า ?เปิดตรวจ/ปิดผนึก โดยพนักงานศุลกากร ร่วมกับเจ้าหน้าที่ ไปรษณีย์ EXAMINED/SEALED BY CUSTOMS AND POSTAL OFFICERS?
เมื่อผู้รับได้รับใบแจ้งฯ ให้ผู้รับนําใบแจ้งฯ ไปติดต่อ ณ ที่ทําการไปรษณีย์ที่ระบุไว้ในใบแจ้งฯ เพื่อชําระอากรและรับของ หากผู้รับเห็นว่าเจ้าหน้าที่ศุลกากรประเมินราคาของสูงกว่าราคาที่ซื้อจริง และผู้รับ มีเอกสารหลักฐานยืนยัน เช่น หลักฐานการซื้อขาย หลักฐานการชําระเงิน เป็นต้น ผู้รับสามารถโต้แย้งการประเมินภาษีอากรได้โดยมีกระบวนการดังนี้
1. ผู้รับทําคําร้องขอโต้แย้งการประเมินภาษีอากร โดยพิมพ์แบบคําร้องจาก http://postal.customs.go.th/ หรือขอรับแบบฟอร์มคําร้องได้ ณ ที่ทําการไปรษณีย์และสามารถยื่นคําร้อง ณ ที่ทําการไปรษณีย์ปลายทาง หรือยื่นต่อส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์โดยเตรียมเอกสารดังนี้
1.1 คําร้องขอโต้แย้งการประเมินภาษีอากร
1.2 ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
1.3 เอกสารหลักฐาน เช่น หลักฐานการซื้อขาย หลักฐานการชําระเงิน เป็นต้น
กรณีที่ยื่นคําร้องโต้แย้งการประเมินภาษีอากรต่อส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ให้ผู้รับสําเนา แจ้งให้ที่ทําการไปรษณีย์ทราบด้วย
ทั้งนี้ผู้รับต้องยังไม่ชําระค่าภาษีอากร และระบุความประสงค์ขอทราบผลการพิจารณาในคําร้อง ว่าจะรอรับแจ้งผลการพิจารณาจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และไปรับสิ่งของ ณ ที่ทําการไปรษณีย์ปลายทาง หรือติดต่อขอทราบผลและรับสิ่งของด้วยตนเองที่ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ แจ้งวัฒนะ ซ. 5
2. พนักงานของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ณ ที่ทําการไปรษณีย์ปลายทาง จะส่งหีบห่อที่ขอโต้แย้ง การประเมินภาษีอากร พร้อมคําร้องขอโต้แย้งการประเมินภาษีอากร ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่าง ประเทศและเอกสารหลักฐานให้กับส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์เพื่อพิจารณา
3. ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามวิธีที่ผู้ยื่นคําร้องแจ้งความ ประสงค์ไว้ต่อไป
ประเภทที่ 3 ของอื่น ๆ นอกจากประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2
ของจะถูกเก็บรักษาในโรงพักสินค้าบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด หรือส่งไปที่สํานักงานหรือด่านศุลกากร เพื่อปฏิบัติพิธีการศุลกากร ผู้รับของต้องมาติดต่อที่ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์หรือสํานักงานหรือด่านศุลกากร ตามที่ระบุไว้ในใบแจ้งฯ เพื่อตรวจสอบของพร้อมเจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประเมินอากรขาเข้า และภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และหากพบว่าเป็นของต้องมีใบอนุญาตนําเข้า ผู้รับของต้องจัดเตรียมใบอนุญาต หรือได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อผู้รับของปฏิบัติครบถ้วนตามกฎหมายอื่นและชําระค่าภาษีอากรผู้รับสามารถรับของไปจากอารักขาศุลกากร
เอกสารที่ต้องใช้ในการติดต่อขอรับของ มีดังนี้
1. กรณีขอรับสิ่งของด้วยตนเอง
- ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ
- บัตรประจําตัวประชาชน หรือบัตรที่ทางราชการออกให้หรือหนังสือเดินทาง (กรณีผู้รับของ เป็นชาวต่างชาติ) ของผู้มีชื่อรับของตามที่ระบุในใบแจ้งฯ
2. กรณีมอบอํานาจให้ผู้อื่นรับสิ่งของแทน
- ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้มีชื่อรับของบันทึก รายละเอียดการมอบอํานาจให้แก่ผู้รับมอบอํานาจ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองทั้ง 2 ฝ่าย ที่ด้านหลังใบแจ้งฯ
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้มอบอํานาจ และลงนามรับรองสําเนา
- บัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ
3. กรณีผู้รับสิ่งของเป็นนิติบุคคล เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วนจํากัด
- ใบแจ้งให้ไปรับสิ่งของส่งทางไปรษณีย์ระหว่างประเทศ โดยให้ผู้มีอํานาจลงนามเพื่อมอบ อํานาจให้ผู้รับมอบอํานาจไปดําเนินการแทน พร้อมประทับตราบริษัทที่ด้านหลังใบแจ้งฯ เพื่อมอบอํานาจให้ผู้รับ มอบอํานาจไปดําเนินการแทน
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของเจ้าของ หรือผู้จัดการ หรือสําเนาบัตรประจําตัวประชาชน ของผู้มีอํานาจลงนามในเอกสารผูกพันนิติบุคคลนั้น ๆ และลงนามรับรองสําเนา - สําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ห้างหุ้นส่วน ร้าน (ที่มีอายุไม่เกิน 6 เดือน) และลงนามรับรองสําเนาพร้อมประทับตราบริษัท.
- บัตรประจําตัวประชาชนของผู้รับมอบอํานาจ
ในขณะเปิดตรวจ มีวิธีพิจารณาของที่จัดอยู่ในประเภทที่ 3 แยกออกได้เป็น 3 ประเภทย่อย ดังนี้
1. ของที่มีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท และไม่ใช่ของต้องกํากัด จากการเปิดตรวจของพบว่า ของมีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท และไม่ใช่ของต้องกํากัด เจ้าหน้าที่ศุลกากรจะประเมินอากรขาเข้าและออกใบเสร็จรับเงิน เมื่อผู้รับของชําระอากรครบถ้วน สามารถรับของออกไปจากอารักขาของศุลกากร ซึ่งวิธีการนี้ เรียกว่า ?การเก็บอากรปากระวาง?
2. ของที่มีราคา FOB ไม่เกิน 40,000 บาท แต่เป็นของต้องกํากัด ผู้รับต้องติดต่อที่ส่วนบริการ ศุลกากรไปรษณีย์หรือด่านศุลกากรตามที่ระบุในใบแจ้งฯ เพื่อทำใบขนสินค้าขาเข้า โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
2.1 กรณีที่ยังไม่เคยลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากร ผู้รับของต้องลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการ ศุลกากรที่ฝ่ายบริการศุลกากรไปรษณีย์
2.2 ผู้รับของส่งข้อมูลใบขนสินค้าขาเข้าทางอิเล็กทรอนิกส์โดยสามารถใช้บริการ Service Counter ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด
2.3 ผู้รับของชำระภาษีอากร
2.4 ผู้รับของติดต่อคลงสินค้าเพื่อนําของมาตรวจปล่อย
2.5 เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจของและบันทึกการตรวจปล่อยในระบบคอมพิวเตอร์
2.6 ผู้รับของนําของไปจากอารักขาของศุลกากร
3. ของที่มีราคา FOB เกิน 40,000 บาท และ/หรือเป็นของต้องกํากัด ผู้รับต้องติดต่อที่ส่วนบริการ ศุลกากรไปรษณีย์หรือด่านศุลกากรตามที่ระบุในใบแจ้งฯ เพื่อทําใบขนสินค้าขาเข้า โดยส่งข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร โดยมีขั้นตอนการปฏิบัติเช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในข้อ 2
วันที่ปรับปรุงล่าสุด : 23 กุมภาพันธ์ 2566 14:16:58
จำนวนผู้เข้าชม : 6,371
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์
ส่วนบริการศุลกากรไปรษณีย์ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ, 111 ซอย 5 ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ 10210
หมายเลขโทรศัพท์ : 0-2575-1002
อีเมล์ : 16010200@customs.go.th